พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 อันนำมาซึ่งความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงของปวงชนชาวไทย ในอดีตนั้นพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วนั้น จะถูกอัญเชิญบรรจุเพื่อลงประทับสู่พระบรมโกศ ซึ่งมิใช่เพียงแค่พระมหากษัตริย์เท่านั้น
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งพิมานรัตยา เสด็จเข้าภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ร.9 บรรทมอยู่บนพระแท่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยกราบถวายบังคมพระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์จากเจ้าพนักงาน ถวายสรงที่พระบรมศพ แล้วกราบถวายบังคมพระบรมศพ ทรงรับหม้อน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำขมิ้น และโถน้ำอบไทย จากเจ้าพนักงาน ถวายสรงที่พระบาทพระบรมศพ
loading...
บรรดาปวงชนชาวไทยยังคงสงสัยถึงการบรรจุศพเจ้านายหรือผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับเกียรติยศ ในวาระสุดท้าย ก็สามารถได้รับพระราชทานโกศ เพื่อบำเพ็ญกุศลได้เช่นกัน ต่อมาเพจในเฟสบุ๊คที่ใช้ชื่อว่า คลังประวัติศาสตร์ไทย ได้เผยสาเหตุที่ พระบรมศพ ประทับยังพระหีบ มิได้ลงประทับพระบรมโกศ มิใช่เพราะยกเลิกธรรมเนียม แต่เป็นเพราะ พระราชประสงค์ส่วนพระองค์ ซึ่งเพจดังกล่าว เป็นเพจที่ให้ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยได้โพสต์ให้ข้อมูลหลังจากข่าวพระราชสำนัก โดยได้ระบุข้อความไว้ว่า...
สาเหตุที่ได้เชิญพระหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นแว่นฟ้าหลังพระแท่นสุวรรณเบญจดล มิได้ลงประทับยังพระบรมโกศ มิใช่การยกเลิกธรรมเนียมแต่อย่างใด แต่มาจากพระประสงค์ส่วนพระองค์ เนื่องด้วยเมื่อคราสมเด็จย่าสวรรคตนั้น พระองค์ได้ทรงรับสั่งว่าให้นำท่านลงหีบ ซึ่งพระราชกระแสรับสั่งนี้เกิดขึ้นเมื่อคราพิธีสรงน้ำสมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 7 ซึ่งสมเด็จย่าเสด็จด้วย และได้เห็นการทำพระสุกำหรือมัดตราสังพระบรมศพแล้วอัญเชิญลงสู่พระบรมโกศ เป็นไปด้วยความทุลักทุเล พระองค์จึงตรัสว่า...
“อย่าทำกับฉันอย่างนี้ อึดอัดแย่” ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระพี่นางในรัชกาลที่ 9
ในอดีตเหล่าบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อสิ้นพระชนม์ลง พระบรมศพล้วนถูกบรรจุลงประทับในพระบรมโกศแทบทั้งสิ้น แต่ธรรมเนียมนี้ มามีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกก็เมื่อในคราว งานพระราชพิธีพระบรมศพ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ที่ท่านได้ทรงมีพระกระแสรับสั่ง ว่าทรงมีพระประสงค์มิลงประทับในพระบรมโกศเพราะในคราเมื่อท่านทำพิธีสรงน้ำพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมเด็จพระราชินีในรัชกาลที่ 7 ท่านได้ทรงอยู่ทอดพระเนตร และได้ทรงเห็นพิธีสุกำหรือการมัดพระบรมศพอันเชิญลงในพระโกศ ซึ่งเป็นไปด้วยความทุลักทุเลอย่างมาก
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.59 ที่ผ่านมา ในเฟซบุ๊ก Yongyut Laksap ได้มีการโพสต์ภาพพิธีปักหมุดทำผังเพื่อก่อสร้างพระเมรุมาศฯ ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งมีข้อความระบุว่า..
“ถึงจะรู้สึกเศร้าปานใด แต่คือหน้าที่ก็ต้องทำให้ดีที่สุดครับ..
….เพราะเป็นหน้าที่ของเรา..กรมศิลปากร”
ทั้งนี้พิธีปักหมุดการก่อสร้างพระเมรุมาศฯ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บริเวณท้องสนามหลวง โดยมีพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิธี
โดยพิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา 15.59 น.
ประธานจุดธูปเทียน บูชาเครื่องสังเวยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง พระมหาราชครู
พิธีศรีวิสุทธิคุณวิบูลเวทย์บรมหงส์ พรหมพงษ์พฤฒาจาริย์ อ่านโองการบวงสรวง
ประธานโปรยข้าวตอกดอกไม้ที่เครื่องสังเวย
จากนั้นประธานและผู้ปักหมุดเดินไปประจำหลัก ในเวลา 16.19 น.
พราหมณ์เป่าสังข์แตร ให้สัญญาณเริ่มการปักหมุดพระเมรุมาศ
โดยใช้ไม้มงคลปักหมุดจำนวน 9 จุด ประกอบด้วย หมุดหลักโดยพลเอกธนะศักดิ์
ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ปัก และหมุดรองอีก 8 จุดได้แก่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปักหมุดหลักที่ 2 ราชเลขาธิการ
ปักหมุดหลักที่ 3 เลขาธิการพระราชวังปักหมุดหลักที่ 4 รองราชเลขาธิการ
ปักหมุดหลักที่ 5 ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปักหมุดหลักที่ 6
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปักหมุดหลักที่ 7 ปลัดกรุง
สำหรับผังในการก่อสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้กำหนดตำแหน่งอ้างอิงโดยพิจารณาจุดกึ่งกลางของยอดพระเมรุมาศเป็นจุดหลักโดยจุดกึ่งกลางกำหนดจากจุดตัดของแนวแกนสำคัญ 2 แกน ได้แก่ แกนทิศเหนือถึงทิศใต้ หรือแกนในแนวขนานกับความยาวของท้องสนามหลวง ซึ่งสัมพันธ์กับแนวกึ่งกลางของพระศรีรัตนเจดีย์ ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และแกนทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกหรือแกนในแนวตั้งฉากกับแกนเหนือใต้ สัมพันธ์กับแนวกึ่งกลางพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ส่วนหมุดประกอบอีก 8 หมุดคือตำแหน่งกึ่งกลางยอดบริวารของพระเมรุมาศ ได้แก่ยอดซ่าง 4 ยอด ยอดมณฑปน้อย 4 ยอด รวมตำแหน่งหมุดทั้งหมด 9 หมุด
ขอบคุณที่มา สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ / คลังประวัติศาสตร์ไทย / Yongyut Laksap
Cr:http://www.tnews.co.th/contents/bg/312092