๖ เมษายนของทุกปี เป็นวันสำคัญของประเทศ นั้นคือ "วันจักรี" เราคนไทยจะต้องร่วมกันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของบูรพกษัตริย์ ของราชวงศ์จักรี เพราะไทยต้องเผชิญกับสงครามใหญ่เรียกว่า สงครามเก้าทัพ หลังจากที่เสียกรุง ครั้งที่สองมาแล้ว หากวันนั้นในครั้นสงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ
ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา
loading...
สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง ๙ ทัพ รวมกำลังพลมากถึง ๑๔๔,๐๐๐ นาย โดยแบ่งการเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็น 5 ทิศทาง
ทัพที่ ๑ ได้ยกมาตีหัวเมืองประเทศราชทางปักษ์ใต้ตั้งแต่เมืองระนองจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช
ทัพที่ ๒ ยกเข้ามาทางเมืองราชบุรีเพื่อที่จะรวบรวมกำลังพลกับกองทัพที่ตีหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วค่อยเข้าโจมตีกรุงรัตนโกสินทร์
ทัพที่ ๓ และ ๔ เข้ามาทางด่านแม่ละเมาแม่สอด
ทัพที่ ๕-๗ เข้ามาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งแต่เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตีตั้งแต่หัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาสมทบกับทัพที่ 3 4
ที่ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อตีเมืองตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์
ทัพที่ ๘-๙ เป็นทัพหลวงพระเจ้าปดุงเป็นผู้คุมทัพ โดยมีกำลังพลมากที่สุดถึง ๕๐,๐๐๐ นาย ยกเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เพื่อรอสมทบกับ
ทัพเหนือ และใต้โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ารบกับกรุงเทพฯ
เวลานั้นทางฝ่ายไทยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ นายมีกำลังน้อยกว่าทัพพระเจ้าพม่าถึง ๒ เท่า ประจวบเป็นทหารรบเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เคยกอบกู้บ้านเมืองสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาไว้ได้
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงปรึกษาวางแผนการรับข้าศึกกับ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ว่าจะทำการป้องกันบ้านเมืองอย่างไร แผนการรบของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือจัดกองทัพออกเป็น ๔ ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ
ทัพที่ ๑ ให้ยกไปรับทัพพม่าทางเหนือที่เมืองนครสรรค์
ทัพที่ ๒ ยกไปรับพม่าทางด้านพระเจดีย์สามองค์ ทัพนี้เป็นทัพใหญ่ มีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามาหาสุรสิงหนาทเป็นแม่ทัพ
คอยไปรับทัพหลวงของพระเจ้าปดุง ที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่ ๓ ยกไปรับทัพพม่าที่จะมาจากทางใต้ที่เมืองราชบุรี
ทัพที่ ๔ เป็นทัพหลวงโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นผู้คุมทัพคอยเป็นกำลังหนุน เมื่อทัพไหนเพลี้ยงพล้ำก็จะคอยเป็นกำลังหนุน
หากวันนั้น ไทยพ้ายแพ้แก่พม่า แน่นอนว่า วันนี้ย่อมไม่มีประเทศไทยเหมือนกับ "มอญ"ที่ไม่มีประเทศอยู่ ณ. วันนี้ ..ชาติไทยอาจจะแตกสาแหรกขาดและ ส่วนหนึ่งก็จะถูกผนึกไว้กับสหภาพเมียนม่า เหมือนที่มอญ กระเหรี่ยง หรือชนเผ่าอื่นๆถูกผนึกอยู่ เพราะต่างพ่ายแพ้สงครามให้กับพม่าในขนาดนั้น
สิ่งที่คนไทยพึงระลึกอยู่เสมอก็คือ พระราชดํารัสของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ ๑ ครั้นเมื่อสงครามเก้าทัพ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพ ทัพ ๒ ถือพล ๓๐,๐๐๐ ไปตั้งรับทัพพม่าที่เมืองกาญจนบุรี (เก่า) สกัดกั้นทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงประกาศปลุกขวัญไพร่ทหารว่า
"พวกเจ้าเป็นไพร่ ข้าเป็นพระราชวงศ์ แต่เจ้ากับข้าเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือเราเป็นคนไทย เป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน รบวันนี้เราจะแสดงให้ผู้รุกรานเห็นว่า เราหวงแหนแผ่นดินไทย รบวันนี้เราจะไม่กลับมาค่ายนี้อีกจนกว่าจะขับไล่ศัตรูไปพ้นชายแดน ข้าจะไม่ขอให้พวกเจ้ารบเพื่อใคร นอกจากรบเพื่อแผ่นดินของเจ้าเอง แผ่นดินที่เจ้ามอบให้แก่ลูกหลานของเจ้าได้อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสืบไป"
อย่างไรก็ตาม ๒๓๖ ปี ที่คนไทยร่วมมีความสุขอยู่ภายใต้ผืนแผ่นดินไทย มีความภาคภูมิใจอยู่ภายใต้ ชื่อแห่ง ความเป็นไทยก็เพราะพระมหากรุณาธิคุณของราชวงศ์จักรี นั่นเอง
Cr:http://www.tnews.co.th/contents/309203