loading...
รายการ "ยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 17 เมษายน 2560 ออกอากาศทางช่อง ไบรท์ทีวี หมายเลข 20 ดำเนินรายการโดย คุณยุคล วิเศษสังข์ (หนึ่ง) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย) บรรณาธิการอำนวยการ สำนักข่าวทีนิวส์ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
สนธิญาณ : ท่านที่รับฟังวันนี้แล้วก็ยังไม่เข้าใจนะครับก็ขอให้ไปติดตามการถ่ายทอดสดทาง Facebook ในวันเสาร์นี้นะครับ วันเสาร์จะคุยเวลา 17 นาฬิกา ถึง 18 นาฬิกา แล้วถ้าไม่จบก็จะต่อไปอีก 1 อาทิตย์ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องยาวคุณยุคลท่านผู้ชมครับ เอาเรื่องหมุดก่อน เมื่อกี้ลูกหลานของคณะราษฎรเนี่ยนะครับก็ออกมาทวงถามหาหมุดนะครับด้วยความรู้สึกที่คิดถึงบรรพบุรุษของตัวเองคุณยุคล เพราะบรรพบุรุษของตัวเองได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 2475 แล้วมีคำถามแบบเดียวกันครับให้สังคมไทยได้พิจารณาเนี่ย ว่าบุตรของคณะราษฎรหาย ลูกหลานของคณะราษฎรรู้สึกในเรื่องที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ คำถามของผมคือ เคยถามความรู้สึกลูกหลานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ที่ถูกแย่งชิงพระราชอำนาจไปหรือไม่ ได้เคยถามความรู้สึกของลูกหลานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ถึงสิ่งที่พระราชวงศ์จักรี และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ถูกโจมตีจากคณะราษฎรหรือไม่ อันนี้พูดกันถึงเรื่องความรู้สึกก่อนนะ ถ้าเด็กๆพวกนี้หรือคนที่เป็นลูกหลานอยู่ในตระกูลของคณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง รู้สึกในเรื่องที่บรรพบุรุตของตัวเองกำลังเจออยู่ในคณะนี้ ก็ต้องถามลูกหลานของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 หรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่ในพระราชวงศ์จักรีดูว่ารู้สึกอย่างไรในการกระทำของคณะราษฎร เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ ไม่ต้องอ้อมค้อม สนธิญาณศึกษามาไม่มากนะครับ เคยชื่นชมอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ แต่ไม่เคยชื่นชม จอมพล ป. หรือคณะทหาร พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ ไม่เคยชื่นชม จะชื่นชมอาจารย์ปรีดี มีทัศนคติที่เป็นลบกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 มาโดยตลอด ในช่วงระยะเวลาชีวิตหนึ่ง ซึ่งรู้สึกว่าตัวเองโง่ที่ขาดความเข้าใจในความเป็นจริงแล้วรีบสรุป เรากลับมาดูกันว่าความจริงวันนี้นะครับ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประเทศไทยก็อาจจะเป็นอีกมุมหนึ่ง มุมไหนก็ไม่รู้ แต่เราต้องย้อนกลับไปดูปราสาทว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเนี่ย 2475 ไม่ใช่การปฏิวัติ ไม่ใช่การอภิวัฒน์ใดๆ คือการรัฐประหาร คือการยึดอำนาจของคณะบุคคลๆหนึ่งที่ยึดไปจากสถาบันพระมหากษัตริย์ คุณยุคล ทำไมต้องใช้คำว่ารัฐประหาร เวลาปฏิวัติ เราบอกเป็นการปฏิวัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคม การรัฐประหารเป็นการถ่ายเทอำนาจเบื้องบ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมนั่นหมายความว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการเปลี่ยนแปลงอันเป็นการปฏิวัตินั้น จะต้องเริ่มขึ้นจากประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม ที่ทนอยู่กับสภาพระบบเก่า ดั้งเดิมไม่ได้ จึงอยากจะเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้สึกร่วมกันของสังคม แต่การเปลี่ยนแปลง 2475 ไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ ฝรั่งเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เราเห็นความเจริญทางเทคโนโลยีของฝรั่งที่มากกว่าเรา แล้วมากดขี่ข่มเหงเรา สิ่งที่คนไทยในยุคสมัยนั้นรู้สึกร่วมกันก็คือจะต้องเท่าเทียมกัน ซึ่งความรู้สึกนี้ในแง่สถาบัน ในแง่ของพระราชวงศ์จักรีมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ได้สั่งความว่า ศึกฆ่าพม่ารามัญไม่ใช่ศึกที่สำคัญของคนไทย จะต้องใส่ใจกับฝรั่งที่กำลังเข้ามา พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เรียนรู้เรื่องฝรั่ง ส่งพระราชสารไป เชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝรั่งทั้งหลาย พระราชโอรส พระราชธิดา สนับสนุนให้ศึกษาภาษาอังกฤษ เรียนรู้เรื่องราวของฝรั่ง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ดำเนินการมาในแบบเดียวกัน เราจึงได้ยินชื่อของกรมพระยากำแพงเพชร กรมหลวงชุมพร และเจ้านายอีกหลายกรม ซึ่งได้ทรงคุณต่อประเทศไทย ล้วนแต่เป็นพระราชโอรสที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ส่งไปศึกษาที่ต่างประเทศทั้งสิ้น แต่ไม่เพียงเท่านั้นครับ ด้วยความรู้สึกนึกคิดอันนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์ในขณะนั้นจึงจัดส่งนักเรียนทุนไปเรียนที่เมืองฝรั่ง ถึงยุโรป เพื่อจะได้เรียนรู้เท่าทันฝรั่ง ปรากฎว่าในขณะนั้นในยุโรปมันมีการเปลี่ยนแปลงในฝรั่งเศส เปลี่ยนแปลงในอังกฤษ อังกฤษนี่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะครับ เคยเป็นสาธารณรัฐมั่ง กลับมามีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญมั่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัสเซีย โดยท่านบอลเชวิกเป็นคอมมิวนิสต์ ปรากฎว่าบุคคลคณะหนึ่งไปเรียนไปเห็นสิ่งเหล่านี้ก็คิดว่าต้องกลับมาเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เหมือนเขาเหล่านั้น ไปอยู่เมืองฝรั่งไม่กี่ปีหรอกครับ ก่อนหน้านั้นเคยจะเกิดกบฎขึ้นมาครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่ากบฎหมอเหล็ง มีนายทหารระดับล่างอยากจะก่อรัฐประหาร เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบนี้เหมือนกัน แน่นอนครับด้านหนึ่งมาจากความไม่พอใจของบรรดาข้าราชการระดับล่าง ระดับกลาง หรืออาจจะรวมถึงระดับบนบางส่วน จึงไม่พอใจที่บทบาทของเจ้าได้ทำแบบนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ในขณะนั้นซึ่งก็แน่นอนครับในแง่ปุถุชนนะครับมีทั้งคนดี มีคนที่หลงใหลในอำนาจ มีคนที่วางตัวไม่เข้าท่าเข้าทางก็มี แต่นี่คือชนวนความไม่พอใจ จนมาถึง 2475 นะครับ คณะราษฎรที่เรียกตัวเองในการเข้ามาในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนะ ประกาศ มีประกาศคณะราษฎร มีกฎคณะราษฎรเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลุ่มบุคคลนี้ประกอบไปด้วยพลเรือนและทหาร พลเรือนนำด้วยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ขณะนั้นอายุก็เพิ่งจะ 30 อาจจะเศษนิดๆ ฝ่ายทหารมีอยู่ 2 กลุ่มคุณยุคลคือทหารเก่ากับทหารใหม่ ทหารแก่กับทหารหนุ่ม ทหารแก่ประกอบด้วย 3 ทหารเสือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ เขาเรียก 3 ทหารเสือ คุมกำลังทหารอยู่ จิ๊บๆจ๊อยๆ บางส่วน กับทหารหนุ่มที่ยังไม่มีกำลังทหารอยู่ในมือ คือจอมพล ป.พิบูลสงคราม กับพลโทประยูร ภมรมนตรี แล้วก็อีกบางส่วนทำการยึดอำนาจ ในการยึดอำนาจเมื่อปี 2475 เนี่ยนะครับ ทหารส่วนหนึ่งหรือว่าส่วนใหญ่ที่เข้ามาร่วมก่อการโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวถูกหลอกมา ไอ้นี่คนเป็นคณะราษฎรเขียนเองนะครับ ด้วยความภาคภูมิใจว่าสามารถทำให้สำเร็จได้ ให้มายืนที่ลานพระรูปฯตอนที่จะประกาศ แต่หน่วยปฏิบัติการของคณะราษฎรจริงๆก็คือหน่วยที่ไปจับพระบรมวงศานุวงศ์ที่คุมอำนาจอยู่ในขณะนั้นเป็นองค์ประกัน ไอ้แบบนี้เหมือนรัฐประหารเป๊ะครับ การปฏิวัตินั่นหมายความว่าประชาชนไม่พอใจ ลุกฮือขึ้น ให้ระบบการสื่อสารเป็นเหมือนปัจจุบัน โลกโซเชียลปัจจุบันเนี่ย วันนั้นเนี่ยนะครับ ประชาชนคนไทยจะออกมาต้านคณะราษฎร ระบบการสื่อสารในสมัยนั้นมันไม่ได้เป็นแบบนั้น แล้วทำไมถึงตอกย้ำว่าเป็นการรัฐประหาร ทราบไหมครับคุณยุคล หลังจากนั้นเนี่ยนะครับ 25 ปี คณะราษฎรครองอำนาจมาจนถึงปี 2500 มีจอมพล ป. คนเดียวเนี่ยเป็นนายกรัฐมนตรีเกือบ 20 ปี ทั้งผ่านการเลือกตั้งและผ่านการรัฐประหารการยึดอำนาจ มีพระยาพหลเป็นนายกรัฐมนตรีอีก 4-5 ปี มีพระยามโนปกรณ์เป็นคนแรกนิดนึง มีพลเรือเอก พลเรือตรีถวัลย์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ อีกไม่กี่เดือน อาจารย์ปรีดีไม่กี่เดือน นายควงไม่กี่เดือน 25 ปี อยู่ในมือของทหารที่เรียกว่าคณะราษฎร และโดยเฉพาะจอมพล ป. ผลเป็นยังไงครับ หลังจากรัฐประหารเสร็จ คณะราษฎรเข่นฆ่า ต่อสู้กันเอง ช่วงชิงอำนาจกันเอง ถึงขั้นประหารชีวิต ถึงขั้นเนรเทศออกนอกประเทศ ไม่มีใครจบชีวิตดีซักคนนึง มีท่านพระยาพหลฯน่ะ ท่านอาจจะดูดีหน่อย คนอื่นถูกเนรเทศ ตายต่างประเทศทั้งหมด จะเรียกบาปเวรหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปพิจารณากัน จัดการกันเอง โดยเฉพาะจอมพล ป. จัดการพระยาทรงฯ จัดการพระยาฤทธิฯ ซึ่งเคยคุมอำนาจทางทหารอยู่ พาตัวเองขึ้นมาคุมอำนาจ มีอาจารย์ปรีดีเป็นรัฐมนตรีร่วมคณะ ท้ายที่สุดขัดแย้งกันระหว่างจอมพล ป.กับอาจารย์ปรีดี จัดการรัฐประหารรัฐบาลอาจารย์ปรีดี นั่นเป็นคณะราษฎร เวลาไปชื่นชมคณะราษฎรอย่างโน้นอย่างนี้ ต้องดูภาพรวมของคณะราษฎรและข้อสรุปไปตามต่อนะครับ วันเสาร์เนี่ยถ่ายทอดสด ผมรู้ไม่มาก แต่ผมศึกษาเรื่องนี้มายาวนานภายใต้ความศรัทธาต่อคณะราษฎร หนังสือชุดเดียวกันเกือบร้อยเล่มด้วยความชื่นชมต่อคณะราษฎรเพราะมุมมองอันขาดความรอบรู้ วันนี้หนังสือที่เคยอ่านเล่มเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนมุมมองมาอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงเห็นความจริงที่ปรากฎขึ้น ความจริงที่ปรากฎขึ้นคืออะไรคุณยุคล ความจริงที่ปรากฎขึ้นก็คือว่าคณะราษฎรช่วงชิงอำนาจจากสถาบันพระมหากษัตริย์มา 85 ปี บอกว่าจะนำพาประเทศไทยไปสู่ความวัฒนาสถาพร ถามประชาชนคนไทยซิครับ วันนี้ว่าระหว่างคณะราษฎรที่ช่วงชิงอำนาจจากสถาบันกษัตริย์มากับพวกนักเลือกตั้งทั้งหลายที่มาได้เศษเสี้ยวอำนาจ กับทหารเผด็จการที่ต่อเนื่องอำนาจจากคณะราษฎรมา กับสถาบันพระมหากษัตริย์ คนไทยเลือกอะไร ผมถามแบบนี้ก็มีความสุ่มเสี่ยงนะ แต่ถามใจคนไทยทุกคน วันนี้คนไทยเลือกสถาบันพระมหากษัตริย์ สิ่งที่เราเห็นสิ่งที่ประจักษ์อยู่ในสายตา ยังไม่พิสูจน์หรอว่าสิ่งที่คณะราษฎรทำมาเหมาะสมหรือไม่ มันพูดไม่ได้หรอกผิดถูกในระยะเวลาที่เกิดขึ้นในตอนนั้น แต่ความจริงคืออะไร นักเลือกตั้งต่อเนื่องกับประชาธิปไตยที่ไม่มีความพร้อม โกงกินทุจริต ร่ำรวย คนที่เข้าเป็นนักการเมืองร่ำรวยทุกคน ในขณะที่ลูกหลานพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ต่อเนื่องถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ทุ่มเท ทำงานให้กับประเทศชาติ แล้วก็ย้อนรอยกลับไปดูสถาบันพระมหากษัตริย์กับความคิดของนักการเมืองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาครองราช สิ่งที่ต้องคิดคือเรื่องประชาชน ต้องมีธรรมะของพระราชาเป็นเครื่องครองใจ เรียกว่าทศพิธราชธรรม ที่สำคัญที่สุดพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ประกาศในการที่จะเอาพระศาสนามาเป็นหัวใจของประเทศ รักษาพระพุทธศาสนา รักษาพระศาสนาเพื่อจะให้คนไทยมีความรู้สึกร่วมกันในการที่จะดูแลชาติบ้านเมือง ความรู้สึกที่ดี เอาล่ะครับ นี่แค่เกริ่น รายละเอียดทั้งหลายติดตามวันเสาร์ครับในการถ่ายทอดสดทาง Facebook ของสำนักข่าวทีนิวส์ และของสนธิญาณ
Cr:http://www.tnews.co.th/contents/bg/311716